แชร์
แนะนำธุรกิจ ยูไลฟ์ ให้เพื่อน
เพื่อเปิดโอกาสสร้างรายได้กับแผนธุรกิจ ไลฟ์แม็ก พลัส
แข็งแรงถึงกระดูก: รู้เท่าทันโรคกระดูกพรุน
หลายคนคงคิดว่าปัญหาเกี่ยวกับกระดูกไม่ใช่เรื่องน่ากังวลสำหรับตัวเองเพราะ “อายุยังน้อย” แต่ที่จริงแล้ว โรคกระดูกพรุนนั้นสามารถแฝงตัวและส่งผลกระทบอย่างลับๆ ได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 20, 30 จนถึง 40 ปี
รู้หรือไม่ ... 90% ของคนไทยมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน?
โรคกระดูกพรุนซึ่งหมายถึง "กระดูกที่มีรูอยู่ภายใน" จะส่งผลให้มวลและความหนาแน่นของกระดูกต่ำลง และเมื่อใดที่กระดูกมีความเปราะบาง นั่นแปลว่ากระดูกของเรามีความเสี่ยงต่อการหักมากขึ้น
โรคกระดูกพรุนเกิดขึ้น 1 ใน 3 คน ในเพศหญิง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะค่าเอสโตรเจนที่ลดลง (เมื่ออายุมากขึ้น) ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้เป็นเหมือนผู้พิทักษ์ความแข็งแรงของกระดูก และมีโอกาสเกิดขึ้น 1 ใน 5 ของเพศชายกลุ่มที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป
แม้โรคกระดูกพรุนนี้จะเป็นภัยเงียบ แต่คุณก็สามารถรู้ทันและป้องกันตัวเองด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือไลฟ์สไตล์ของเรา รวมทั้งทานแคลเซียมเสริม
หลายคนอาจเคยคิดว่าเมื่ออายุพ้นวัยเจริญเติบโตแล้ว เราไม่จำเป็นต้องดื่มนมหรือเติมแคลเซียมให้กับร่างกาย แต่ที่จริงแล้ว เราต้องเติมแคลเซียมให้กับร่างกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการสูญเสียของมวลกระดูก
เพื่อกระดูกที่แข็งแรงในวันพรุ่งนี้ ถึงเวลาดูแลกระดูกของเราด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเลือกทานแคลเซียมเสริมที่ใช่สำหรับตัวคุณเองอย่าง Cal-Plex ซึ่งเหมาะสำหรับทุกช่วงอายุ มาในรูปแบบ “Milk-Calcium Mineral Complex” ที่มีความเข้มข้นมากกว่านมถึง 200 เท่า
และ Algae Calcium-D ที่มีชิโครี่ไฟเบอร์ วิตามินดี แคลเซียม เทคโนโลยี Calcium Pro-Absorbtion รวมทั้งแร่ธาตุอีก 72 ชนิด – ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่แพ้แลคโตส และมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
แม้ว่าโรคกระดูกพรุนจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ก็ยังไม่สายเกินไปที่เราจะชะลอและเสริมสร้างร่างกายของเราให้แข็งแรงขึ้น…ถึงเวลาเซย์ "Hello" กับกระดูกที่แข็งแรงขึ้นวันนี้!
เคล็ดลับ
จากการศึกษาพบว่าการกระโดด (เท้าชิดกัน) 50 ครั้ง 3 วันต่อสัปดาห์ สามารถช่วยเพิ่มมวลกระดูกได้ นอกจากนี้ การออกกำลังกายที่รับน้ำตัวเอง เช่น กระโดดเชือก วิ่ง และ strength training ยังช่วยเสริมสร้างกระดูกได้เช่นกัน
สถิติ
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าโรคกระดูกพรุนกลายเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพอันดับสองของโลกรองจากโรคหัวใจ โดยปัจจุบันมีผู้หญิงที่เป็นโรคนี้ถึงประมาณ 200 ล้านคน