แชร์
แนะนำธุรกิจ ยูไลฟ์ ให้เพื่อน
เพื่อเปิดโอกาสสร้างรายได้กับแผนธุรกิจ ไลฟ์แม็ก พลัส
แนะนำธุรกิจ ยูไลฟ์ ให้เพื่อน
เพื่อเปิดโอกาสสร้างรายได้กับแผนธุรกิจ ไลฟ์แม็ก พลัส
ต้องยอมรับว่าการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง กลายเป็นความต้องการอันดับแรกๆ ของทุกคนในเวลานี้ โดยเฉพาะความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกพูดถึงเป็นวงกว้างมาตลอด แต่กลับเป็นสิ่งที่ถูกกระทบได้ง่ายจากหลายๆ ปัจจัยรอบด้าน ยิ่งในช่วงที่หลายคนต้องใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ภายในบ้าน และทำงานอยู่บ้าน (Work from Home) ยิ่งมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้โดยไม่รู้ตัว!
แยกเวลางานกับเวลาส่วนตัวไม่ได้ จนร่างกายต้องส่งสัญญาณ
ย้อนกลับไปในช่วงแรกๆ ของการ Work from Home หรือการทำงานอยู่บ้าน เชื่อว่าหลายๆ คนยังคงสนุกและใช้ชีวิตแบบปกติสุข เพราะมองว่าเป็นการย้ายสถานที่ทำงานทั่วไป แถมยังได้เวลาส่วนตัวคืนมาอีกด้วย จนเวลาล่วงเลยมาปีกว่าๆ พบว่าหลายคนเริ่มมีปัญหาแยกเวลางานกับเวลาส่วนตัวไม่ได้ บวกกับลักษณะการทำงานที่ไม่เอื้อต่อการรักษาสุขภาพ ดังนี้
ทำงานบนเตียง (Work from bed)
จากเดิมที่ต้องรีบตื่นเพื่ออาบน้ำและแต่งตัวไปทำงาน เมื่อต้องทำงานอยู่บ้านเลยทำให้ขั้นตอนต่างๆ ถูกตัดทิ้งไป กลายเป็นล้างหน้าตอนเช้าและเริ่มต้นทำงานง่ายๆ บนเตียงนอน ข้อมูลจาก สสส.* ได้ระบุถึงการศึกษาในคนอเมริกัน พบว่า 72% ทำงานบนเตียงเพิ่มขึ้น 50% ตั้งแต่มีการระบาดของ ไวรัสโควิด-19 และใช้เวลาทำงานอยู่บนเตียง 24-40 ชม. หรือมากกว่า ซึ่งมีผลต่อ กระดูกและข้อทั้งยังมีแนวโน้มเกิดปัญหาสุขภาพหลัง การบาดเจ็บของกระดูก เอ็น และกล้ามเนื้อคอ
พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary behavior)
หรือเรียกง่ายๆ ว่าอาการขี้เกียจ ได้แก่ การนั่ง นอน ไม่ค่อยได้ขยับเคลื่อนไหวร่างกาย โดยเฉพาะการนั่งทำงานแบบยาวนานต่อเนื่อง ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีผลต่อปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น ความอ้วน คอเลสเตอรอล ความดันโลหิตสูง โรค เบาหวาน โรคหัวใจและ หลอดเลือด รวมถึงออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้มากของคนวัยทำงาน และมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน
ทำงานบนเตียง (Work from bed)
จากเดิมที่ต้องรีบตื่นเพื่ออาบน้ำและแต่งตัวไปทำงาน เมื่อต้องทำงานอยู่บ้านเลยทำให้ขั้นตอนต่างๆ ถูกตัดทิ้งไป กลายเป็นล้างหน้าตอนเช้าและเริ่มต้นทำงานง่ายๆ บนเตียงนอน ข้อมูลจาก สสส.* ได้ระบุถึงการศึกษาในคนอเมริกัน พบว่า 72% ทำงานบนเตียงเพิ่มขึ้น 50% ตั้งแต่มีการระบาดของ ไวรัสโควิด-19 และใช้เวลาทำงานอยู่บนเตียง 24-40 ชม. หรือมากกว่า ซึ่งมีผลต่อ กระดูกและข้อทั้งยังมีแนวโน้มเกิดปัญหาสุขภาพหลัง การบาดเจ็บของกระดูก เอ็น และกล้ามเนื้อคอ
พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary behavior)
หรือเรียกง่ายๆ ว่าอาการขี้เกียจ ได้แก่ การนั่ง นอน ไม่ค่อยได้ขยับเคลื่อนไหวร่างกาย โดยเฉพาะการนั่งทำงานแบบยาวนานต่อเนื่อง ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีผลต่อปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น ความอ้วน คอเลสเตอรอล ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้มากของคนวัยทำงาน และมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน
รักษาสุขภาพกาย-ใจให้ฟิต รีเซ็ตชีวิตช่วง Work from Home
นอกจากปัญหาสุขภาพทางกาย ยังพบว่าสุขภาพทางใจและความรู้สึกภายในต่างๆ ยังเป็นปัญหาที่พบได้ในช่วง Work from Home ที่เรียกว่าภาวะความโดดเดี่ยวทางสังคม (Social Isolation) เกิดจากการขาดปฏิสัมพันธ์ต่างๆ ระหว่างการทำงานที่หายไป และไม่ใช่การพูดคุยแบบเดียวกันกับคนในครอบครัว ซึ่งมีผลต่อระดับความพอใจและความสามารถในการทำงานที่น้อยลง วิธีรักษาสุขภาพโดยการสร้างความยืดหยุ่นและสมดุลในการทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลดโอกาสการเกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ดังนี้
ออกแบบโต๊ะทำงานให้เอื้อต่อการนั่งทำงาน เช่น ระดับโต๊ะ-เก้าอี้ที่นั่งสบาย การวางต้นไม้ขนาดเล็ก
กำหนดเวลาตื่นนอน-เข้านอนให้เป็นเวลาในวันทำงาน และทำให้ได้อย่างสม่ำเสมอ
ทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ เช่น ตื่นนอนแล้วอาบน้ำ และการแต่งตัวให้สะอาดสะอ้านอยู่เสมอ
ใช้เวลาช่วงพักไปกับการผ่อนคลายอย่างเต็มที่
หรือแชร์บทสนทนาอื่นๆ กับเพื่อนร่วมงานบ้าง
แบ่งเวลาพักกับเวลางานออกจากกัน เช่น
วางนาฬิกาไว้ใกล้สายตา หรือตั้งนาฬิกาปลุกเตือนให้พัก
เพื่อช่วยลดโอกาสการเกิดปัญหาสุขภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลมากต่อความแข็งแรงของ ระบบภูมิคุ้มกัน (Immunity System) ในร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน
เสริมภูมิคุ้มกันให้พร้อม ซ้อมร่างกายให้แข็งแรงสม่ำเสมอ
เมื่อสถานการณ์โควิดยังบังคับให้เราต้องใช้ชีวิตในบ้านต่อไป กิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำที่ไหนก็ได้จึงถูกเซ็ตไว้ให้ทำอยู่ภายในบ้าน โดยเฉพาะเรื่องของอาหารที่ไม่ใช่แค่เรื่องของรสชาติที่ถูกปากแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันในช่วงนี้ได้อีกด้วย ตัวช่วยเสริมความแข็งแรง เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม จึงได้กลายเป็นไอเทมสำคัญในการรักษาสุขภาพง่ายๆ โดยเราขอแนะนำ 3 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ ตัวช่วยดูแลสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ดังนี้
แหล่งรวมสารต้านอนุมูลอิสระจากกลุ่มซูเปอร์ฟรุตที่มีสีเข้ม ที่ถูกยกให้เป็น King of Antioxidant อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระกว่า 19 ชนิด และแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) มีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกัน ฟื้นฟูความเสียหายในร่างกายที่ถูกทำร้ายโดยอนุมูลอิสระ ซึ่งมีผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย
วิตามินรวม บียอนด์ ไลฟ์ เซนเชียล
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ประกอบด้วยส่วนผสมของวิตามินรวม เกลือแร่ กรดอะมิโน และสารอาหารจำเป็นต่อร่างกายกว่า 50 ชนิด พร้อมไฟโตโมเลกุล (Phytomolecule) ที่มีส่วนช่วยลดอาการเหนื่อยล้า คืนความแข็งแรง พร้อมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันถึงระดับเซลล์ จึงช่วยชะลอปัญหาเซลล์เสื่อมก่อนวัย ซึ่งเกิดจากไลฟ์สไตล์ที่ขาดคุณภาพ
เครื่องดื่มซูเปอร์แอนตี้ออกซิแดนท์ชนิดน้ำ จากผลโรซ่า ร็อกซ์เบอร์กี้ และซูเปอร์ฟรุตเข้มข้นรวม 6 ชนิด ซึ่งมีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระถึงระดับเซลล์ เสริมสร้างภูมิต้านทาน ช่วยรักษาสุขภาพ พร้อมซ่อมแซมดีเอ็นเอให้ดีขึ้น และช่วยดูแล เทโลเมียร์ที่มีผลต่อความเสื่อมของเซลล์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเกิดอาการเจ็บป่วยได้ง่าย รวมถึงความชราจากภายในที่เกิดจากไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน
รวมถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือในกรณีฉุกเฉินจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งในเรื่องของระบบเข้ารับการรักษา อุปกรณ์ดูแลสุขภาพที่จำเป็นและยาจำเป็นเบื้องต้น ควบคู่กับการรักษาสุขภาพตนเองและคนที่คุณรัก แม้จะได้รับวัคซีนไปแล้วก็ตาม เพราะการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันคือเกราะป้องกันสำคัญของมนุษย์ยุคโควิด
อ้างอิงข้อมูล สสส.