มัดรวมวิธีเสริมภูมิคุ้มกัน ภูมิดีไม่มีพัง...เสริมพลังไม่มีป่วย
เมื่อสถานการณ์โควิดยังไม่หยุด การเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย (Immune) ก็ยังหยุดไม่ได้!
นับเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องเร่งเสริมกองกำลังพร้อมเกราะป้องกันชุดใหญ่ไว้สำหรับต่อสู้กับเชื้อไวรัสร้าย โดยเฉพาะเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่แม้จะมีตัวช่วยหลักจากการฉีดวัคซีนโควิด แต่การเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงสม่ำเสมอ ยังต้องเกิดจากวิธีดูแลสุขภาพจากภายในสู่ภายนอกอย่างจริงจัง
ภูมิคุ้มกันของร่างกายอยู่ในระบบเลือด
เมื่อพูดถึงระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System) หลายคนอาจนึกถึงกลุ่มก้อนพลังที่รวมตัวกันสร้างเกราะป้องกันให้ร่างกาย ซึ่งแท้จริงแล้วระบบภูมิคุ้มกันยังถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่
ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด
(Innate immunity)
ภูมิคุ้มกันชั้นแรกที่ช่วยปกคลุมร่างกาย อย่างผิวหนัง รวมถึงเยื่อบุต่างๆ เปรียบเสมือนภูมิคุ้มกันด่านแรกที่ช่วยปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคภายนอก ช่วยยับยั้งการติดเชื้อที่เป็นผลจากอุบัติเหตุหรือภาวะเจ็บป่วยบางอย่าง
ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด
(Innate immunity)
ภูมิคุ้มกันชั้นแรกที่ช่วยปกคลุมร่างกาย อย่างผิวหนัง รวมถึงเยื่อบุต่างๆ เปรียบเสมือนภูมิคุ้มกันด่านแรกที่ช่วยปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคภายนอก ช่วยยับยั้งการติดเชื้อที่เป็นผลจากอุบัติเหตุหรือภาวะเจ็บป่วยบางอย่าง
ภูมิคุ้มกันที่ได้รับเพิ่ม
(Passive immunity)
การเสริมภูมิคุ้มกันจากภายนอก เช่น วัคซีนและเซรั่มบางชนิด ให้เข้าไปต่อต้านเชื้อไวรัสนั้นๆ ได้ทันที ช่วยส่งเสริมให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดี และตรวจจับสิ่งแปลกปลอมได้แม่นยำขึ้นในช่วงระยะหนึ่ง ซึ่งรวมถึงการรับวัคซีนหยดแรกจากน้ำนมแม่ในเด็กแรกเกิด (6 เดือนแรก) ซึ่งช่วยลดการเกิดโรคต่างๆ ในระยะยาวได้ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
ภูมิคุ้มกันที่ได้รับเพิ่ม
(Passive immunity)
การเสริมภูมิคุ้มกันจากภายนอก เช่น วัคซีนและเซรั่มบางชนิด ให้เข้าไปต่อต้านเชื้อไวรัสนั้นๆ ได้ทันที ช่วยส่งเสริมให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดี และตรวจจับสิ่งแปลกปลอมได้แม่นยำขึ้นในช่วงระยะหนึ่ง ซึ่งรวมถึงการรับวัคซีนหยดแรกจากน้ำนมแม่ในเด็กแรกเกิด (6 เดือนแรก) ซึ่งช่วยลดการเกิดโรคต่างๆ ในระยะยาวได้ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
ภูมิคุ้มกันจำเพาะ
(Adaptive immunity)
ภูมิคุ้มกันที่เราพูดถึงกันมากที่สุด คือคุ้มกันที่อยู่ในเลือดอย่างเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งยังแบ่งออกเป็นนิวโตรฟิล (Neutro phil) ลิมไฟไซท์ (Lymphocyte) โมโนไซท์ (Monocyte) อิโอซิโนฟิลด์ (Eosinophil) เบโซฟิลด์ (Basophil) ที่มีคุณสมบัติการตอบสนอง และทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อไวรัสแตกต่างกัน ทำให้เชื้อเหล่านั้นไม่สามารถออกฤทธิ์ในร่างกายต่อไปได้ ทั้งยังสามารถจดจำหน้าตาของเชื้อนั้นๆ เพื่อไม่ให้เราต้องกลับไปป่วยซ้ำใหม่ได้อีก
ภูมิคุ้มกันจำเพาะ
(Adaptive immunity)
ภูมิคุ้มกันที่เราพูดถึงกันมากที่สุด คือคุ้มกันที่อยู่ในเลือดอย่างเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งยังแบ่งออกเป็นนิวโตรฟิล (Neutro phil) ลิมไฟไซท์ (Lymphocyte) โมโนไซท์ (Monocyte) อิโอซิโนฟิลด์ (Eosinophil) เบโซฟิลด์ (Basophil) ที่มีคุณสมบัติการตอบสนอง และทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อไวรัสแตกต่างกัน ทำให้เชื้อเหล่านั้นไม่สามารถออกฤทธิ์ในร่างกายต่อไปได้ ทั้งยังสามารถจดจำหน้าตาของเชื้อนั้นๆ เพื่อไม่ให้เราต้องกลับไปป่วยซ้ำใหม่ได้อีก
ในเมื่อร่างกายนั้นสุดแสนมหัศจรรย์ มีหน่วยรบช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ออกร่างกาย แล้วทำไมเรายังจำเป็นต้องดูแลสุขภาพร่างกายเพิ่มเข้าไปอีกล่ะ?
ภูมิตก ทำอ่อนแอ...แพ้ง่าย! เพราะอนุมูอิสระในร่างกายเพิ่มขึ้น
แม้เราจะบอกว่าร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ด้วยตัวเอง แต่หากหน่วยรบกองทัพนี้ขาดการดูแลเอาใจใส่ที่ดี ประสิทธิภาพและความแข็งแรงที่เคยดีก็มีวันแผ่วลงได้เช่นกัน ซึ่งนอกจากปัจจัยทางด้านอายุที่มีผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันแล้ว อนุมูลอิสระ (Free radicals) ที่ได้รับจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน (Lifestyle) ที่เพิ่มสูงขึ้น ล้วนบั่นทอนให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ดังนี้
มลภาวะทางอากาศ
(PM 2.5, แสงแดด UV, ควันไอเสีย)
สารเคมีปนเปื้อน
(อาหาร, กิจกรรมต่างๆ)
สูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์
พักผ่อนน้อย และความเครียดสะสม
ขาดการออกกำลังกาย
จะเห็นได้ว่าไลฟ์สไตล์ที่เราทำจนคุ้นชินในทุกวันเป็นการเร่งให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันตก และตรงเข้าทำลายเซลล์ปกติในร่างกายให้อ่อนแอลงได้ ส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าปกติ ทั้งอาการหวัด ผื่นคัน เหนื่อยง่าย เป็นแผลแล้วหายช้า และสัมพันธ์ต่อไปถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องและโรคข้ออักเสบต่างๆ ดังนั้นการเติมความสดใหม่ให้ภูมิคุ้มกันอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นตัวช่วยให้ร่างกายพร้อมรับมือกับเชื้อไวรัสร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ติดอาวุธด้วย ‘สารต้านอนุมูลอิสระ’ เสริมกองทัพให้ระบบภูมิคุ้มกัน
การดูแลสุขภาพให้ดีทั้งภายนอกและภายใน จึงเป็นสิ่งที่คนยุคใหม่ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ ซึ่งนอกจากการปกป้องตนเองจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ตามมาตรการขั้นพื้นฐาน (สวมหน้ากากอนามัย, ล้างมือฆ่าเชื้อ, งดสัมผัส, เว้นระยะห่าง) แล้ว การเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ให้ร่างกาย ยังเป็นการติดอาวุธให้ระบบภูมิคุ้มกันสามารถ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้
บำรุงอาหาร เน้นคุณค่า Antioxidant
แหล่งรวมสารต้านอนุมูลอิสระพบได้มากในกลุ่มอาหารและผลไม้จำพวกวิตามินซี ที่มีผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวให้พร้อมต่อสู้กับเชื้อไวรัสต่างๆ ได้มากขึ้น โดยเฉพาะผลไม้กลุ่มซูเปอร์ฟรุตที่มีสีเข้ม ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระคุณภาพสูง อย่างผลมากิเบอร์รี Maqui plus ที่มีสารดีดี DEDI (Delphinidin) และถูกยกให้เป็น King of Antioxidant ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระกว่า 19 ชนิด และแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) มีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกันและต่อต้านโรคเรื้อรังต่างๆ รวมถึงช่วยฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้นในร่างกาย ทั้งในหลอดเลือด และเซลล์ในร่างกายที่ถูกทำร้ายโดยอนุมูลอิสระ
เพิ่มคุณภาพการนอน
หนึ่งในปัญหาสำคัญที่บั่นทอนสุขภาพโดยไม่รู้ตัวของคนยุคนี้คือ คุณภาพการนอนไม่ดี ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะร่างกายไม่ได้รับการซ่อมแซม การจัดเวลาเข้านอน-ตื่นนอนเสียใหม่ จึงเป็นการคืนเวลาให้ร่างกายได้มีเวลาฟื้นฟูระบบต่างๆ ที่ทำงานกันมาตลอดทั้งวันได้มากขึ้น
แบ่งเวลาออกกำลังกาย
นอกจากจะเป็นการกระตุ้นการใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ แล้ว ยังเป็นการฟื้นฟูระบบกล้ามเนื้อ เพิ่มระดับออกซิเจนในเลือด และกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือดให้ไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เร็วขึ้น เป็นอีกวิธีง่ายๆ ที่ช่วยเสริมภูมิให้ร่างกายที่สามารถทำได้ทุกวัน
ท่ามกลางวิกฤตสุขภาพที่กำลังโอบกอดผู้คนในเวลานี้ การเสริมความพร้อมให้ภูมิคุ้มกัน ร่วมกับการเฝ้าระวังตนเองอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัย และความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะเมื่อสถานการณ์โควิดยังไม่หยุด การเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายก็ยังหยุดไม่ได้เช่นเดียวกัน!
สินค้าที่คุณอาจสนใจ
- ราคาสมาชิก
- 3,625 ฿
- ราคาปกติ
- 4,530 ฿
- ราคาสมาชิก
- 1,170 ฿
- ราคาปกติ
- 1,460 ฿
- ราคาสมาชิก
- 3,625 ฿
- ราคาปกติ
- 4,530 ฿
- ราคาสมาชิก
- 1,170 ฿
- ราคาปกติ
- 1,460 ฿