ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เสี่ยงเป็นเบาหวานไม่รู้ตัว – ULife
เว็บไซต์ของเราใช้คุ้กกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้ให้ดีมากยิ่งขึ้น คุ้กกี้สามารถช่วยให้คุณเพลิดเพลินไปกับการใช้ฟีเจอร์ต่างๆ (เช่น การบันทึกข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ใน “ตะกร้าของคุณ”) การแชร์ในโซเชียลมีเดีย (ในเฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ฯลฯ) และการส่งข้อความและโฆษณาต่างๆ ที่ตรงกับความสนใจของคุณ (ในเว็บไซต์ และอื่นๆ) คุ้กกี้ยังสามารถช่วยให้เราเข้าใจว่า เว็บไซต์ของเราถูกใช้ในรูปแบบไหนบ้าง คุณสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ ประกาศเกี่ยวกับคุ้กกี้ คลิ๊ก “ยินยอม” เพื่ออนุญาตให้เราใช้คุ้กกี้กับคุณ
ยอมรับ
Promotion Hurry up, Black Friday promotion will be end after

ภาษา

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เสี่ยงเป็นเบาหวานไม่รู้ตัว

น้ำตาลในเลือดคืออะไร? น้ำตาลในเลือดคืออะไร?

หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่า ‘น้ำตาลในเลือด’ คืออะไร ทำไมหลายคนถึงกลัวกันหนักหนา โดยเฉพาะเมื่อไหร่ที่ทานของหวานยิ่งต้องระวัง จนเกิดคำถามว่าของหวานมีผลกับน้ำตาลในเลือดยังไง มาไขข้อสงสัยว่าน้ำตาลที่อยู่ในเลือดคืออะไร อันตรายต่อสุขภาพอย่างไร พร้อมวิธีดูแลสุขภาพให้อยู่ร่วมกับของหวานที่แสนอร่อยได้อย่างปลอดภัย ไกลโรค

น้ำตาลในเลือดคืออะไร?

น้ำตาลในเลือด คือ ความเข้มข้นของระดับกลูโคส (น้ำตาล) ในเลือด ซึ่งกลูโคสถือเป็นแหล่งพลังงานหลักของเซลล์ในร่างกายและเป็นน้ำตาลที่มีอยู่ในเลือดของมนุษย์ โดยธรรมชาติแล้วร่างกายของเราจะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเข้มงวด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาสมดุลในร่างกาย (Homeostasis)

ทำไมยิ่งสูงยิ่งน่ากลัว?

น้ำตาลในเลือด_ยูนิลีเวอร์ ไลฟ์

น้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งมักมีสาเหตุตั้งต้นจากอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มที่มีรสชาติ ‘หวานนำ’ และเนื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นอีกหนึ่งภาวะที่ค่อยๆ แสดงอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป จนส่งผลต่อประสิทธิภาพของฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ที่รับบทหนักในการควบคุมระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือดทั่วทั้งร่างกาย

อาจสรุปได้ว่า หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าปกติ ก็เป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าเรากำลังเผชิญหน้ากับโรคเบาหวาน ซึ่งเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติในกระบวนการเปลี่ยนน้ำตาลที่อยู่ในเลือดให้เป็นพลังงาน และเมื่อน้ำตาลเหล่านี้ไม่ได้ถูกใช้ ระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือดจึงสูงขึ้นจนผิดปกตินั่นเอง

เปิดความสัมพันธ์ ‘อินซูลิน’ กับ ‘ความหวาน’

หากพูดถึงตำแหน่งสำคัญของการควบคุมระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือด ชื่อของฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) อาจเป็นชื่อที่เราต้องเคยได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ทุกครั้งที่รับประทานอาหาร หรืออะไรก็ตามที่มีความหวานเข้าไป ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมาเพื่อพาน้ำตาลเหล่านั้นไปกระจายเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อมัดต่างๆ และนำไปใช้เป็นพลังงานต่อไป ...แล้วทำไมเราถึงยังเสี่ยงมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ ?

น้ำตาลในเลือด_อินซูลิน_ลดน้ำตาล

1. กินหวานซ้ำซาก ทำประสิทธิภาพอินซูลินลดลง

จริงอยู่ที่อินซูลินมีหน้าที่สำคัญในการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อมัดต่างๆ เป็นการควบคุมระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือดให้มีความสมดุลแต่เมื่อไรก็ตามที่เรารับประทาน อาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูงๆ ร่างกาย จะสั่งให้ฮอร์โมนอินซูลินหลั่งออกมาในปริมาณที่มากกว่าเดิม เพื่อไล่เก็บน้ำตาลที่กำลังหลั่งไหลเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็ว ทำให้เราเริ่มรู้สึกหิวเร็วกว่าปกติและโหยหาของหวานมากขึ้นไปอีก และอาจเข้าสู่ภาวะดื้อต่ออินซูลินในที่สุด

น้ำตาลในเลือด_อินซูลิน_ลดน้ำตาล

2. พฤติกรรมเดิมๆ เพิ่มเติมคือดื้ออินซูลิน

หลายคนอาจจะเคยได้ยินภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin resistance) ซึ่งเป็นภาวะที่อินซูลินไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือดได้อีกต่อไปซึ่งเสี่ยงต่อการ เป็นโรคเบาหวาน รวมถึงอาการแทรกซ้อนของอวัยวะต่างๆได้ เช่น ตา ไตและระบบประสาท ที่หากปล่อยไว้นานอาจนำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อไปได้ ดังนั้นหากตรวจพบภาวะนี้ควรพยายามหลีกเลี่ยงอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มี น้ำตาลสูง และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคและภาวะดื้ออินซูลินแต่เนิ่นๆ

น้ำตาลในเลือด_อินซูลิน_ลดน้ำตาล

3. กินมากกว่าใช้ จนร่างกายเอาไปใช้ไม่ทัน

ในขณะที่เราหมั่นเติมความหวานให้ร่างกายอยู่ทุกวัน พร้อมนั่งจ้องไอเท็มสำคัญที่ขาดไม่ได้อย่างสมาร์ตโฟน หรือนั่งเล่นคอมที่โต๊ะเสียเป็นส่วนใหญ่จนแทบ ไม่ได้ขยับเขยื้อน เคลื่อนไหวร่างกาย จนน้ำตาลที่เก็บอยู่ตามกล้ามเนื้อแปรเปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสม (Fat) ตามจุดต่างๆ จนเข้าสู่ภาวะโรคอ้วนได้

ลด-ไม่ลดน้ำตาลในเลือด ใครบ้างที่ต้องเช็ก?

นอกจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ความเครียด การออกกำลังกาย การมีรอบเดือน และการตั้งครรภ์ ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือดด้วยเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันมีวิธีเช็ก หรือตรวจวัดระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือดได้โดยการเจาะเลือดอยู่หลายรูปแบบ ทั้งการตรวจแบบ Fasting Blood Sugar (FBS) หรือการตรวจระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือด (ปริมาณกลูโคส) หลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง และการตรวจแบบ Hemoglobin A1C (HbA1c) หรือการตรวจเม็ดเลือดที่มีน้ำตาลเข้าไปจับเคลือบผิว ย้อนหลังไปประมาณ 2-4 เดือน ซึ่งเป็นวิธีตรวจน้ำตาลที่อยู่ในเลือด ที่มีความน่าเชื่อถือสูง และหากพบว่ามีระดับน้ำตาลสะสมมากกว่า 6.5 mg% หมายถึงความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ส่วนใครบ้างที่ควรเช็ก หรือควรเข้ารับการตรวจวัดระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือดมากที่สุด ได้แก่

น้ำตาลในเลือด_อินซูลิน_ลดน้ำตาล

ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง

น้ำตาลในเลือด_อินซูลิน_ลดน้ำตาล

ผู้ที่มีค่าเฉลี่ยน้ำหนักเกินเกณฑ์ มาตรฐาน (BMI) หรือมีรูปร่างอ้วน

น้ำตาลในเลือด_อินซูลิน_ลดน้ำตาล

ผู้ที่มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง

น้ำตาลในเลือด_อินซูลิน_ลดน้ำตาล

ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัว เป็นโรคเบาหวาน

เพื่อดูแลระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ดีเป็นปกติอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปก็ควรตรวจเช็กระดับน้ำตาลด้วยเช่นกัน เพราะเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าประสิทธิภาพของร่างกายเป็นอย่างไร จนกว่าจะได้ตรวจเช็กร่างกายและป้องกันอย่างจริงจัง

เสริมทัพตัวช่วย เสริมการทำงานอินซูลิน!

ป้องกันไว้ดีกว่ารักษา ยังเป็นคำที่ใช้ได้ดีเสมอ โดยเฉพาะในสายสุขภาพที่ไม่ว่าใครก็ไม่ควรต้องลุ้นเป็นเจ้าของโรคภัย นอกจากการปรับไลฟ์สไตล์ให้มีความเสี่ยงน้อยลง ลดน้ำตาลด้วยการกำหนดความหวานให้ร่างกายจนเป็นนิสัยแล้ว การเสริมตัวช่วยที่เป็นประโยชน์ต่ออินซูลิน นับเป็นหนึ่งในทางเลือกในการส่งเสริมสุขภาพที่ดี จากสารสกัดอินเดียน กู๊ดส์เบอร์รี (Indian Gooseberry) ที่ไม่ผ่านกระบวนการตกแต่งพันธุกรรม เพื่อคงประสิทธิภาพและสรรพคุณไว้อย่างครบถ้วนที่สุด

ทั้งยังปราศจากสารกลูเตนที่ก่อภูมิแพ้ ด้วยคุณสมบัติของกู๊ดส์เบอร์รีบวกกับกระบวนการพิเศษเหล่านี้ ทำให้อินเดียน กู๊ดส์เบอร์รี (Indian Gooseberry) ได้รับการจดสิทธิบัตรถึง 8 ฉบับ และผ่านการศึกษาด้านงานวิจัยประสิทธิภาพอีกมากมาย ถือเป็นความโชคดีของคนยุคนี้ที่มีตัวช่วยดีๆ พร้อมเสริมร่างกายให้แข็งแรงต่อเนื่อง

น้ำตาลในเลือด_อินเดียนกู๊ดส์เบอร์รี_ลดน้ำตาลสะสม
น้ำตาลในเลือด_อินเดียนกู๊ดส์เบอร์รี_ลดน้ำตาลสะสม

*1. ทดสอบในอาสาสมัครจำนวน 5 คน โดยรับประทานอาหารที่มีพลังงาน 584 กิโลแคลอรี่ (คาร์โบไฮเดรต 91 กรัม น้ำตาล 60 กรัม) และอินเดียน กู๊ดส์เบอร์รี่ 1,000 มก. วัดค่าระดับน้ำตาลหลังทาน 2 ชม., 2. ทดสอบในอาสาสมัครจำนวน 33 คน รับประทานอินเดียน กู๊ดส์เบอร์รี่ วันละ 1,000 มก. เป็นเวลา 1 เดือน, 3. ทดสอบในอาสาสมัครจำนวน 80 คน รับประทานอินเดียน กู๊ดส์เบอร์รี่ วันละ 1,000 มก. เป็นเวลา 3 เดือน

บทความเกี่ยวข้อง

1 พฤศจิกายน 2566

โปรตีน ดี พลัส อาหารเสริมโปรตีนจากพืช ทางเลือกใหม่สุขภาพ

ทางเลือกใหม่เพื่อสุขภาพ อาหารเสริมโปรตีนจากพืช โปรตีนผงชงทานง่าย หอม รสชาติอร่อย ดื่มได้ทุกเพศทุกวัยเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น

อ่านเพิ่มเติม
1 พฤศจิกายน 2566

ไมโครไบโอม ระบบนิเวศจุลินทรีย์ตัวจิ๋ว ผู้ช่วยเพื่อผิวและผมสุขภาพดี

อยากฟื้นฟูดูแลผิวหน้าและเส้นผมให้แข็งแรง ต้องรู้จักรักษาสมดุลไมโครไบโอม (Microbiome) อย่างต่อเนื่อง พร้อมแนะนำผลิตภัณฑ์ที่ผสานไมโครไบโอมเทคโนโลยี
อ่านเพิ่มเติม
15 กันยายน 2566

Benefits of Omega-3: Lower Cardiovascular Health-Related Risks with beyonde OMEG 3+

On average, 7 Thai people die per hour from cardiovascular diseases; a statistically-proven silent killer associated with the build-up of fats in the blood vessels. This disease is more likely to be found amongst those consuming a high-fat or high...
อ่านเพิ่มเติม
จัดส่งฟรีเมื่อสั่งซื้อขั้นต่ำ ฿1,500

จัดส่งฟรีเมื่อสั่งซื้อขั้นต่ำ ฿1,500

เราจัดส่งสินค้าภายใน 72 ชั่วโมง
ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง

ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง

เรานำเสนอแต่ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงเท่านั้น
เวลาทำการ 9.00-19.00

เวลาทำการ 9.00-19.00

ติดต่อเราได้ทั้งทางแชทหรือโทรศัพท์
ระบบชำระเงินปลอดภัย 100%

ระบบชำระเงินปลอดภัย 100%

Visa, Mastercard

ถุงช้อปปิ้ง

ไม่มีสินค้าที่เลือก, กรุณาเติมสินค้าลงในถุงช้อปปิ้งของคุณ